“บัตรคนจน” ใช้ซื้อได้ที่ไหน ใช้อย่างไร ซื้อได้กี่อย่าง

วันนี้ในช่วงพักเที่ยงจากงานที่โรงงานรับผลิตฉลากสินค้า มีโอกาสได้ไปนั่งล้อมวงทานข้าวกันกับ
ทีมงานติดตั้งเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดที่เข้ามาติดตั้งระบบบาร์โค้ดให้โรงงาน ในกลุ่มมีคำถามที่เป็นประเด็น
ให้ได้พูดคุยกันคือเรื่อง “บัตรคนจน” ที่ทางการแจกจ่ายไปแล้ว พอมีโอกาสก็เลยไปหาข้อมูลมาบอก
กล่าวกัน
   บัตรคนจนเป็นสวัสดิการที่รัฐบาลได้แจกจ่ายให้ผู้มีรายได้น้อยเพื่อแบ่งเบาภาระในสังคม โดยบัตร
สวัสดิการแห่งรัฐ ได้แบ่งประเภทบัตรตามรายได้ของผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือเป็น 2 ประเภท คือ

1  กลุ่มของผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 3๐,๐๐๐ บาทต่อปี จะได้รับเงินอุดหนุนเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค
    จำนวน 300 บาทต่อเดือน รวมทั้งค่าก๊าซหุงต้ม 45 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน ค่ารถเมล์และรถไฟฟ้า
    500 บาท ต่อคนต่อเดือน,ค่ารถโดยสาร บขส. 500 บาทต่อคนต่อเดือน,ค่ารถไฟ 500 บาทต่อคน
    ต่อเดือน
2. กลุ่มที่มีรายได้เกิน 3๐,๐๐๐ บาทต่อปี แต่ไม่เกิน 100,000 บาท จะได้รับเงินอุดหนุนเพื่อซื้อสินค้า
    อุปโภคบริโภคจำนวน 200 บาทต่อเดือน รวมทั้งค่าก๊าซหุงต้ม 45 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน ค่ารถเมล์
    และรถไฟฟ้า 500 บาทต่อคนต่อเดือน,ค่ารถโดยสาร บขส. 500 บาทต่อคนต่อเดือน,ค่ารถไฟ 500
    บาทต่อคนต่อเดือน

หลายคนยังสงสัยว่าจะใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐถอนเงินออกมาใช้ได้หรือไม่..?

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีลักษณะคล้าย บัตรเครดิตบวกบัตร ATM คือสามารถนำไปรูดซื้อสินค้าอุปโภค
บริโภคได้ตามร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ  ที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์  โดยชำระเงินก็ง่ายมาก
เพียงแค่รูดบัตรจ่ายเงินผ่านเครื่องรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์  หรือเครื่อง  EDC  จากนั้นก็จะได้
ใบเสร็จที่แสดงยอดที่ใช้จ่ายไปและยอดคงเหลือในบัตร  แต่ถ้าสินค้าที่ซื้อมีราคาเกินกว่าเงินที่อยู่
ในบัตร ก็สามารถเติมเงินเข้าไปในบัตรได้ผ่านบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Money ของ
ธนาคารกรุงไทย ซึ่งนอกจากจะเติมเงินเข้าไปในบัตรแล้วยังสามารถใช้บัตรทำธุรกรรมฝาก ถอน โอน
ผ่านตู้ ATM / ADM ของธนาคารกรุงไทยได้เรียกได้ว่าสะดวกสบาย สามารถพกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
เป็นแทนบัตร ATM ได้ แต่ไม่สามารถกดเงินหรือโอนเงินที่ได้รับจากการการอุดหนุนของโครงการบัตร
สวัสดิการแห่งรัฐเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Money ได้ และถ้าเงินอุดหนุนใช้ไม่หมดเงินก็
จะถูกตัดทันทีไม่สามารถเก็บสะสมเพื่อนำไปทบยอดในเดือนหน้าได้

สินค้าที่สามารถซื้อได้มีแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ดังนี้

สินค้าอุปโภค บริโภค เช่น อาหารสด,อาหารและเครื่องดื่ม,ของใช้ประจำวัน,ยารักษาโรค

สินค้าเพื่อการศึกษา เช่น เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์การเรียน

สินค้าเพื่อเกษตรกรรม เช่น ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์และเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ



สวัสดิการช่วยเหลือค่าโดยสารรถเมล์ รถไฟฟ้า รถไฟ และรถร่วม บขส. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แบ่งเป็น 2 แบบ

1. บัตร EMV + ตั๋วร่วม (แมงมุม) สำหรับผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนในเขต กทม. นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา
    สมุทรปราการ นครปฐม และ สมุทรสาคร โดยบัตรนี้ ไว้ใช้กับระบบขนส่งมวลชนทั้งหมดในกรุงเทพมหานคร

2. บัตร EMV สำหรับผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนในจังหวัดอื่นๆ (นอกเขต กทม. นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา
    สมุทรปราการ นครปฐม และ สมุทรสาคร) สำหรับบัตรนี้ จะไม่สามารถใช้กับระบบขนส่งมวลชนทั้งหมดใน
    กรุงเทพมหานคร. โดยรถโดยสารที่ร่วมโครงการจะทำการติดตั้งอุปกรณ์ อี-ทิกเก็ต เพื่อใช้สำหรับคิดเงินค่า
    โดยสารจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพียงแค่แตะเบาๆก็สามารถจ่ายค่าโดยสารไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่นำมาบอกกล่าวกัน ในอนาคตคาดว่า“บัตรคนจน” จะสามารถต่อยอดเพื่อเป็นบัตรใช้ประโยชน์เพิ่มเติมทางด้านการบริการอื่นๆ ที่ตอบสนองความต้องการของคนรากหญ้าได้อย่างคลอบคุมมากยิ่งขึ้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

8 อันดับ เทคโนโลยีในชีวิต ยุค 4.0

ตกลง...จะเอายังไงครับ BOSS

กระตุ้นพลังชีวิตง่าย...ง่าย ทำได้เองทุกที่ ทุกเวลา